วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 7 การจัดการข้อมูล

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
3.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องทำการสำรองข้อมูลและอุปกรณ์จะนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรองโดยอุปกรณ์ใดบ้างและใช้ปัจจัยใดบ้างในการเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดนั้นในการสำรองข้อมูล
ตอบ ในการที่เราต้องทำข้อมูลสำรองเพราะ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับข้อมูล เมื่อข้อมูลเหล่านั้นเสียหายหรือสูญเสีย ก็สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้แทนได้อุปกรณ์ที่ใช้สำรองข้อมูล คือ แผ่นซีดี ฮาร์ดดิสก์สำหรับพกพาปัจจัยในการเลือกใช้ ขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูล

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ระบบปฏิบัติการ

๑.ในระบบปฏิบัติการ window 7 มีระบบ License ทั้งในแบบ FPP และ OEM License ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และถ้านักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านนักเรียนจะต้องใช้รูปแบบ License แบบใด
ตอบ FPP สามารถย้ายจากเครืองเก่าไปเครื่องใหม่ได้OEM ไม่สามารถย้ายไปเครื่องใหม่ได้
ซื้อแบบ FPP เพราะ ถ้าเครื่องเก่าเสียหายหรือพังก็สามารถย้ายข้อมูลใส่เครื่องอื่นได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ซอฟต์แวร์

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน


๑. บอกความหมายและประเภทของซอฟแวร์ได้
ตอบ ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง และยังมีการสะกด ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วย คำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร
์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกัน ได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์ จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) คือ กลุ่มชุดคำสั่งที่ใช้อธิบายชิ้นงาน หรือกลุ่มงานที่จะประมวลผลโดย คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจหมายถึง ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรม
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่นั้นเป็นชุดคำสั่งที่ออกแบบตามอัลกอริทึม โดยปกติแล้วเขียนโดยโปรแกรมเมอร์ หรือไม่ก็สร้างโดยโปรแกรมอื่น
การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ ( http://www.software.co.th/what-is-software.asp )


๒.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ
ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคาสั่งที่โปรแกรมเมอร์เขียนเพื่อใช้สั่งงานตามรูปแบบและโครงสร้างของภาษาซึ่งแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้คือ


1. ภาษาระดับต่า (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทาความเข้าใจได้ยาก
ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทางานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่าได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) เป็นต้น


2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) เป็นภาษาที่ทาความเข้าใจได้ไม่ยากนัก
เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทาความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทางานได้รวดเร็วเหมือนกับภาษาระดับต่า สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี เป็นต้น
3. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ทาความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของ การใช้คาสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทางานจะต้องมีการแปลความหมายของคาสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคาสั่งที่เรียกว่า Interpreter หรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compilerมา
ภาษาซี (C Programming Language) ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1970 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Laboratories และได้ถูกใช้งานแต่ในห้องปฏิบัติการของ Bell จนกระทั่งปี 1978 นั้น Brian Kerninghan กับ Dennis Ritchie สองคู่หูขาโจ๋ จึงได้ออกหนังสือ กาหนดมาตรฐานของภาษาซี ข้อกาหนดนี้คนมักเรียกขานกันว่า K&R C มาจาก (http://202.57.149.58/~der/elerning/HistoryC.pdf)



๓.อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษาได้
ตอบ ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี มาจาก(http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/index.html)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.ให้นักเรียนหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยหาความหมายของคำว่า"Open Source" และบอกซอฟต์แวร์โอเพนซอฟต์ที่รู้จักในปัจจุบันมา ๓ ชนิด
ตอบ ซอฟต์แวร์ Open Source ต่างกับซอฟต์แวร์อื่นอย่างไร? * โดยทั่วไปรูปแบบของไลเซนต์ และการแจกจ่ายซอฟต์แวร์มีหลายรูปแบบ โดยสามารถจำแนกได้ตามเกณฑ์ 2 ด้าน คือ


1. การให้พร้อมซอร์สโค้ด


2. การคิดค่าใช้จ่าย * ซอร์สโค้ด หมายถึง รหัสซอฟต์แวร์ต้นฉบับที่เขียนโดยภาษาระดับสูง ซึ่งแตกต่างจากไบนารีโค้ด เพราะซอฟต์แวร์ Open Source เปิดเผยโครงสร้าง และลอจิกของโปรแกรม * ซอฟต์แวร์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดอย่างเดียว เรียกว่า ซอฟต์แวร์ปิด (closed source) ไลเซนต์ Open Source ต่างกับไลเซนต์อื่นอย่างไร?คำว่า "Open Source" หรือ "Free Software" ไม่เพียงพอสำหรับอธิบายไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปส่วนที่สำคัญของลิขสิทธิ์ (Copyright) จะอธิบายเกี่ยวกับสิทธิ์ในการทำสำเนา การแจกจ่าย และการดัดแปลงสำหรับไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สจะเน้นใน 2 ประเด็น คือ


1. การยกเลิกค่าไลเซนต์ซอฟต์แวร์


2. การให้ซอร์สโค้ดมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ * สิ่งที่ทำให้ไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สแตกต่างจากไลเซนต์อื่นๆ ก็คือ หลักการของ "Copyleft" โดย Copyleft จะมีข้อจำกัดอยู่ว่า ถ้ามีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมจากต้นฉบับ แล้วซอฟต์แวร์ตัวใหม่ต้องใช้ไลเซนต์เดียวกับต้นฉบับด้วย * ไลเซนต์ Copyleft ที่สำคัญของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ก็คือ GPL Public Domain การกำหนดไลเซนต์เป็น "Public Domain" หมายถึง การยกเลิกลิขสิทธิ์ หรือ "Copyright" o นิยามของ Public Domain อาจจะใช้ได้กับบางประเทศ เช่น อเมริกา แต่สำหรับบางประเทศเช่น เยอรมันจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าจะไปขัดกับ German right o ในอเมริกาส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์นี้กับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน ผู้ใช้ในอเมริกาจะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ และอนุญาตให้นำไปทำเป็น Commercial Domain ได้ด้วย Shareware จุดมุ่งหมายของ Shareware ก็คือ ความพยายามที่จะให้มีการนำเอาซอฟต์แวร์ไปใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Shareware จะให้เฉพาะไบนารีโค้ด และให้ใช้ซอฟต์เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหมดเวลาทดลองใช้แล้ว ถ้าต้องการใช้ต่อก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย Freeware เป็นไลเซนต์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้งาน และเป็นไปได้ที่จะอนุญาตให้เฉพาะส่วนตัว หรือที่ไม่ใช้ในทางธุรกิจ ส่วนใหญ่บริษัทจะใช้ Freeware ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์รอบๆ ข้าง เช่น ไมโครซอฟต์มี Internet Exploror เป็น Freeware เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการครองตลาด เป็นต้น ตัวอย่าง Freeware ที่ Open Directory Project GNU Public License (GPL) ผู้คิดค้นไลเซนต์ GPL คือ Richard Stallman ซึ่งอธิบายปรัญญาใน Free Software Foundation ไว้ว่า GPL ไม่มีข้อจำกัดในการทำสำเนา และการแจกจ่าย ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์แบบ GPL ที่เด่นๆ ก็คือ ซอฟต์แวร์ในโครงการ GNU และระบบปฏิบัติการ Linux o ผู้ใช้จะต้องสามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ง่าย ตัวไลเซนต์เองต้องนำไปใส่ไว้ในโปรแกรมด้วย o จะต้องแสดงไลเซนต์ซอฟต์แวร์ขึ้นมาเมื่อเริ่มโปรแกรม o จะอนุญาตให้แก้ไขซอฟต์แวร์ได้ ก็ต่อเมื่อมีการระบุว่าใครได้แก้ไขอะไร เมื่อไร o อนุญาตให้สร้างโปรแกรมใหม่จากการแก้ไขซอฟต๋์แวร์ต้นฉบับ แต่มีเงื่อนไขว่าโปรแกรมจะต้องมีไลเซนต์แบบ GPL เท่านั้น ("Copyleft") o จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "Viral" effect เพราะว่าซอฟต์แวร์ที่รวมเอาซอฟต์แวร์ที่มีไลเซนต์เข้าไว้ด้วยกันต้องอยู่ภายใต้ไลเซนต์ที่คล้ายกับ GPL ไปด้วย o ไลเซนต์แบบ "Copyleft" ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ในทางธุรกิจ เพราะบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดของตัวเองด้วย ถ้าใช้ซอฟต์แวร์บางส่วนที่เป็น GPLในการพัฒนาซอฟต์แวร์ GNU Lesser General Public License (LGPL) เนื่องจากไลเซนต์แบบ GPL ค่อนข้างมีข้อจำักัดในการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ องค์กรอิสระ Free Software Foundation (FSF) จึงได้พัฒนาไลเซนต์ LGPL * LGPL อนุญาตให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ธุรกิจสามารถใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี โดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนไลเซนต์แบบ GPL ซอฟต์แวร์ตัวแรกที่ใช้ไลเซนต์ LGPL คือ GNU C Library มาจาก(http://www.susethailand.com/suseforum/index.php?topic=83.0)



๒.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยคนไทย และบอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ตอบ โปรแกรมบัญชี Software ERP MRP CRM SCM พัฒนาโดยคนไทย รองรับระบบธุรกิจทุกระดับ (ความสามารถไม่แพ้ SAP) Implement โดยทีมงานมืออาชีพ : Formula, Forma

เลือกใช้ โปรแกรมบัญชี : Formula, Software ERP : Formula ERP มั่นใจได้ว่า ท่านได้เลือก โปรแกรมบัญชี, Software ERP ที่ใช้ในองค์การได้อย่างถูกต้อง และคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน ธุรกิจท่าน สามารถเริ่มระบบงานได้อย่างรวดเร็วทันใจ และใช้งานได้อย่างราบรื่น เพราะ "ความสำเร็จของลูกค้า คือ ความสำเร็จของเรา"
* ตลอดระยะเวลา 15 กว่าปี โปรแกรมบัญชี Formula และโปรแกรม ERP ที่ชื่อ Forma ERP ได้ถูกพัฒนาโดยทีมงานโปรแกรมเมอร์คนไทย 100 %
* โปรแกรมบัญชี Formula และโปรแกรม Forma ERP ได้ติดตั้งให้กับลูกค้าแล้วมากมาย ทั้งธุรกิจขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ สามารถรองรับระบบการทำงานของทั้งองค์กรได้อย่างสมบูรณ์
* ด้วยการ Implement ระบบ ERP ที่มีรูปแบบชัดเจน ถูกพิสูจน์ด้วยความสำเร็จของลูกค้าที่ได้รับบริการ การันตีคุณภาพโดยทีม Implementor รุ่นใหม่ ที่มีประสบการณ์ในการ Implement ระบบ ERP ไม่น้อยกว่า 5 ปี

Forma ERP เป็นระบบ ERP ประสิทธิภาพสูง ที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ตั้งแต่การ Online Post, Online Update และ Online Correction ระบบของโปรแกรม Forma ERP ประกอบไปด้วย

- ระบบซื้อ - ระบบขาย - ระบบลูกหนี้ - ระบบเจ้าหนี้ - ระบบสินค้าคงคลัง - ระบบบัญชีแยกประเภท - ระบบสินทรัพย์ถาวร - ระบบเช็ค และเงินฝากธนาคาร - ระบบงบประมาณ - ระบบ Costing - ระบบ Consolidate - ระบบสกุลเงินต่างประเทศ - ระบบภาษี - ระบบรักษาความปลอดภัย - ระบบบำรุงรักษาข้อมูล - ระบบ Customize เฉพาะลูกค้าแต่ละราย - ฯลฯ มาจาก (http://www.be2hand.com/scripts/view.php?prod_id=214242)



๓.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
ตอบ คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมของซอฟต์แวร์แต่ละประเภท

1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย (Commercial Software)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย หมายถึง โปรแกรมที่ถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อการขายในท้องตลาด

ในอดีตซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ผู้ใช้มีทางเลือกมากขึ้นเนื่องจากมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ ใช้ได้เสรี (Freeware Software) โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ (Public Domain Software) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด (Open-source Software) เป็นต้น

ลักษณะของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย โดยส่วนใหญ่ มีดังนี้
- สามารถซื้อหาได้จากผู้แทนจำหน่าย ผู้ผลิต และร้านค้าซึ่งจำหน่ายซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ เป็นต้น

- เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์

- ผู้ซื้อควรอ่านสัญญาอนุญาตประเภทนี้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากโปรแกรมประเภทนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีข้อสงวนสิทธิมากกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น

- ผู้ซื้อจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ใช้ ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ซื้อจะได้รับสัญญาอนุญาตระบุเงื่อนไขการใช้ต่างๆ เมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าโปรแกรมฯ ทั้งนี้ผู้ซื้อต้องเข้าใจว่าสัญญาอนุญาตเพียงให้ใช้เท่านั้น ไม่ได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ

- ผู้ใช้ไม่สามารถทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ยกเว้นกรณีการทำสำเนาเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย และจะใช้สำเนาที่ทำสำรองไว้ (backup copy) ได้เฉพาะกรณีที่โปรแกรมต้นฉบับสูญหาย หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้เท่านั้น

- ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงหรือต่อยอด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

- ไม่สามารถศึกษาหรือทำวิศวกรรมย้อนกลับได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าของลิขสิทธิ์
- เว็บไซต์ที่แนะนำที่แนะนำการค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ คือ www.soft14.com และ www.tucows.com เป็นต้น

2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ (Shareware Software หรือ Trailware)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลิขสิทธิ์ โดยสาธารณชนสามารถนำไปทดลองใช้ได้ฟรี ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าหากต้องการใช้ต่อไปหลังจากครบกำหนดระยะเวลาทดลองใช้ ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้

ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดา เลือกทำธุรกิจซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เนื่องจากต้องการขายตรงต่อผู้ใช้ การซื้อซอฟต์แวร์ประเภทนี้จึงถูกกว่าการซื้อซอฟต์แวร์โดยผ่านร้านค้า
ลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ โดยส่วนใหญ่ มีดังนี้

- ในอดีต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จะทำงานบน Dos แต่ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะทำงานได้บน Microsoft window

- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ โดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำงานได้บน Macintosh และ Unix

- ผู้ใช้สามารถค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้จาก การดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต หรือบางครั้งอาจพบได้จากการแถมมาจากหนังสือนิตยาสารต่างๆ เป็นต้น

- ไม่สามารถทำวิศวกรรมย้อนกลับได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

- โดยทั่วไปไม่มีการเปิดเผยซอร์โค้ด

- ไม่สามารถดัดแปลงหรือพัฒนาต่อยอดได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

- ผู้ใช้ไม่สามารถทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ยกเว้นกรณีการทำสำเนาเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย และจะใช้สำเนาที่ทำสำรองไว้ (backup copy) ได้เฉพาะกรณีที่โปรแกรมต้นฉบับสูญหาย หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้เท่านั้น

- ผู้ใช้สามารถทำซ้ำและแจกจ่ายแก่ผู้อื่นต่อไปได้ โดยผู้ได้รับสามารถทดลองใช้และหากตัดสินใจที่จะใช้ซอฟต์แวร์นั้นต่อ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์

- ผู้ใช้ไม่สามารถขายหรือแจกจ่ายเพื่อแสวงหากำไร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- ในบางครั้งผู้ใช้สามารถต่อรองราคาค่าธรรมเนียมการใช้ (licensing fee) กับผู้เป็น เจ้าของลิขสิทธิ์ได้

- โดยส่วนใหญ่ สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะระบุเรื่องการบริการหลัง การขาย รวมถึงได้รับเอกสารเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม และยังมีการอัพเกรด (upgrade) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ภายหลังด้วย
- website ที่แนะนำการค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ คือ www.shareware.com และ www.download.com เป็นต้น


3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี(Freeware Software)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ใช้โดย เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่คิดมูลค่า โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตและข้อจำกัดต่างๆ บางประการไว้

ลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี โดยส่วนใหญ่ มีดังนี้

- ผู้ใช้สามารถค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้จากการดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต หรือบางครั้งอาจพบได้จากการแถมมาจากหนังสือนิตยาสารต่างๆ รวมทั้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

- เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ และมีเงื่อนไขต่างๆที่ถูกกำหนดไว้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์

- สามารถทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เพื่อป้องกันการสูญหายและสามารถจำหน่ายจ่ายแจกได้ ทั้งนี้จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร

- สามารถดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์


- สามารถศึกษาและทำวิศวกรรมย้อนกลับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้อง ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

- สามารถพัฒนาต่อยอดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ผู้พัฒนาต่อยอดจะต้องยินยอมให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาต่อยอดขึ้นนั้นเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรีเช่นกัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ กล่าวคือ ไม่สามารถกล่าวอ้างสิทธิในลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่ายหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้

- website ที่แนะนำการค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ คือ www.freeware.com และ www.freeware-guide.com เป็นต้น



4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ (Public Domain Software)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้สละลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หมดอายุการคุ้มครอง ซึ่งสาธารณชนสามารถใช้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

ลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ โดยส่วนใหญ่ มีดังนี้

- เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้สละลิขสิทธิ์หรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หมดอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
- สามารถทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เพื่อป้องกันการชำรุดสูญหายและจำหน่าย จ่ายแจกอย่างไม่มีข้อจำกัด
- สามารถดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
ลิขสิทธิ์ก่อน
- สามารถศึกษาและทำวิศวกรรมย้อนกลับได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน
- สามารถพัฒนาต่อยอดได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่มีเงื่อนไขในการใช้และ
จำหน่ายจ่ายแจกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการพัฒนาต่อยอดขึ้นมานั้น

คำแนะนำ

ข้อควรพิจารณาว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์ มีดังนี้

- ผู้ใช้ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทมีลิขสิทธิ์ เว้นแต่มีข้อความหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดชัดว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่น ข้อความ ที่แสดงว่าเจ้าของได้สละลิขสิทธิ์แล้ว หรือเป็นโปรแกรมที่หมดอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว

ทั้งนี้ กรณีที่ไม่มีสัญลักษณ์© ไม่ได้หมายความว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีลิขสิทธิ์ เนื่องจากการคุ้มครองลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทันที ไม่ต้องจดทะเบียนและแสดงเครื่องหมาย © หรือสัญลักษณ์ใดๆ

- ควรอ่านเอกสารข้อกำหนดและพิจารณาหีบห่อซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาอนุญาต วิธีการใช้ และข้อจำกัดสิทธิต่างๆ ให้ละเอียด

- website ที่แนะนำการค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ คือ www.aixpdslib.seas. ucla.edu www.awug.org/library/software.html และ www.ibiblio.org/jmaynard เป็นต้น
5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด (Open-source Software)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้เป็นเจ้าของเปิดเผยรหัสต้นฉบับหรือซอร์สโค้ด (Source Code) ภายใต้เงื่อนไขซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทำการศึกษา เปลี่ยนแปลงแก้ไข และพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้งจำหน่ายจ่ายแจกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาต่อยอดนั้นได้

ลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด โดยส่วนใหญ่ มีดังนี้

- สามารถขายและจำหน่ายจ่ายแจกซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้

- ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะเปิดเผยซอร์สโค้ดไปพร้อมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในกรณีไม่มีการเปิดเผยซอร์สโค้ดพร้อมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในทางปฏิบัติผู้เป็นเจ้าของจะ เผยแพร่ซอร์สโค้ดทางสื่ออินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม

- ผู้ใช้สามารถพัฒนาต่อยอดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต เมื่อพัฒนาต่อยอดแล้ว จะต้องระบุที่มาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เดิมที่ได้ถูกพัฒนาต่อยอดขึ้น

- เมื่อพัฒนาต่อยอดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้แล้ว ผู้พัฒนาจะต้องใช้ชื่อโปรแกรมใหม่
- สัญญาอนุญาตจะต้องไม่มีลักษณะกีดกันบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใด
- สัญญาอนุญาตจะต้องไม่มีลักษณะกีดกันบุคคลใดที่จะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอณ์เพื่อการเฉพาะ เช่น ไม่สามารถกีดกันการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในทางธุรกิจหรือการค้นคว้าวิจัย เป็นต้น

- การจำหน่ายจ่ายแจกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อๆกันไป ไม่ทำให้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาตในลักษณะของโอเพ่นซอร์สสิ้นสุดลง

- โปรแกรมคอมพิวเตอร์โอเพ่นซอร์ส จะต้องมีความเป็นกลาง ไม่จำกัดว่าสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการบางประเภทเท่านั้น

- website ที่แนะนำการค้นหาซอฟต์แวร์ประเภทนี้ คือ www.gnu.org www.freebsd.org และ www.searchopensource.com เป็นต้น





6. ซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ

Shovelware หมายถึง ซอฟต์แวร์ของแถมซึ่งอาจจะเป็น freeware, shareware หรือ public domain software โดยส่วนใหญ่ Shovelware มักจะแถมรวมกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้สินค่าดูมีมูลค่ามากขึ้น

Postcareware หรือ cardware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งอาจจะเป็น shareware หรือ freeware โดยเจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดให้ผู้ใช้ส่งไปรษณียบัตรกลับไปยังผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

Ransomware หรือ Hostageware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งจะทำการเข้ารหัส ใน hard drive ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนได้ เว้นแต่จะจ่ายเงินเพื่อทำการถอนรหัส

Adware หรือ Advertisementware หมายถึง ซอฟต์แวร์ ซึ่งถูกโฆษณาผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในขณะที่ผู้ใช้กำลังใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ (Pops Up) ทั้งนี้การโฆษณาที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ใช้ใส่คำค้นหา (key word) ลงในโปรแกรมค้นหา (Search engine) และเกิดจากการพิมพ์ชื่อเข้าเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ต้องการค้นหา

Spyware, Parasite software, Scumware, Junkware หรือ Thiefware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งถูกติดตั้ง (install) ลงในเครื่องโดยอัตโนมัติ โดยปราศจากความยินยอมของผู้ใช้และไม่มีการแจ้งผู้ใช้ว่าได้มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ชนิดนี้ลงในเครื่องของผู้ใช้แล้วซอฟต์แวร์นี้จะทำการเก็บข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ที่ผู้ใช้มักจะเข้าเยี่ยมชม ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะใช้เพื่อธุรกิจการค้าต่างๆ เช่น เมื่อผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ A และ B เพื่อหาซื้อโทรทัศน์ spyware ก็จะทำหน้าที่ส่งโฆษณาขายโทรทัศน์ของบริษัทคู่แข่ง ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ทันที ในขณะที่ผู้ใช้กำลังใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ (Pops Up)

Beerware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งผู้ใช้จะต้องซื้อเบียร์ให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ

Careware, charityware, helpware หรือ goodware หมายถึง ซอฟต์แวร์ถูกจำหน่ายจ่ายแจกเพื่อผลประโยชน์การกุศล ซึ่ง Careware ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้ง Freeware และ Shareware โดยทั่วไป Careware อาจจะถูกแจกจ่ายในลักษณะที่ให้เปล่า โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะขอรับบริจาคเพื่อการกุศล

Guiltware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งอาจเป็น shareware หรือ freeware โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เขียนข้อความบอกกล่าวผู้ใช้ถึงความยากลำบากในการสร้างสรรค์เพื่อจูงใจให้ผู้ต้องการใช้สนใจจะซื้อ

Crippleware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งใช้แสดงตัวอย่างการทำงานของโปรแกรมเพียงบางส่วน เช่น สามารถแสดงผลได้แต่ไม่สามารถทำการบันทึกข้อมูลและสั่งพิมพ์ หรืออาจสั่งพิมพ์ได้แต่ปรากฏเครื่องหมายการค้าขนาดใหญ่ตรงกลางหน้ากระดาษเมื่อสั่งพิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้โดยไม่คิดมูลค่า หากผู้ใช้ประสงค์จะใช้งาน ได้อย่างสมบูรณ์จะต้องจ่ายเงินเสียก่อน
Demoware หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะให้ทดลองใช้ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลักษณะจำกัดวันเวลาในการใช้ ใช้งานโปรแกรมได้แต่เพียงบางส่วน เช่น ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้

Donationware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งผู้ใช้จะต้องบริจาคเงินให้แก่นักพัฒนา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. กำหนดให้ผู้ตัดสินใจใช้ซอฟต์แวร์บริจาคเงินเมื่อต้องการจะใช้ หรือ 2. ผู้ใช้ซอฟต์แวร์สามารถตัดสินใจที่จะบริจาคเงินก็ต่อเมื่อได้ใช้ประโยชน์และได้รับความพึงพอใจ จากโปรแกรมนั้นแล้ว

Freely redistributable software (FRS) หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งทุกคนสามารถจำหน่ายจ่ายแจกได้ ซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกับ freeware และ shareware

Greenware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดให้ผู้ใช้โปรแกรมกระทำการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม เช่น จะต้องใช้กระดาษรีไซเคิล จะต้องใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และ ไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น

Nagware, begware หรือ Annoyware หมายถึง เป็นซอฟต์แวร์ประเภท shareware ซึ่งกำหนดให้ผู้ใช้จ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งการโฆษณาซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะกระทำผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในขณะที่ผู้ใช้กำลังใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ (Pops Up)

Malware, Malicious software หรือ badware หมายถึง ซอฟต์แวร์ซึ่ง ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าแทรกซึมหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์โดยปราศจากความยินยอม ของเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกซอฟต์แวร์ชนิดนี้ว่าไวรัส (Virus)

Snoopware หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับติดตามเฝ้าดูการใช้งานของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการติดตามเฝ้าดูลูกจ้าง บุตร หรือคู่สมรสเกี่ยวกับ พฤติกรรมต่างๆ โดย Snoopware สามารถบันทึกการกดพิมพ์แป้นคีบอร์ด แอบถ่ายรูป และแอบดักฟัง เป็นต้นมาจาก(www.mjubi.mju.ac.th/ubinew/ipm/manual_licenses.doc)



๔.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ของซอฟต์แวร์ต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่
ตอบ เห็นด้วยเพราะการคิด การทำซอฟต์แวร์แต่ล่ะครั้งจะต้องใช้เวลามาก ถ้าเรานำซอฟต์แวร์มาใช้โดยที่ผู้จัดทำไม่ได้สิ่งตอบแทนผู้ทำซอฟต์แวร์ก็ไม่มีกำลังใจที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความพัฒนามากๆขึ้นไป ซึ่งการจ่ายค่าลิขสิทธ์ในสถาบันการศึกษาก็เป็นการจ่ายค่าแรงให้ผู้ทำมีกำลังใจที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อๆไป

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

พรรณไม้พฤกษศาสตร์โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม

7-30240-001-032/2
ชื่อพื้นเมือง มะยมมะยม (ทั่วไป)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus (L.) Skeels

ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAEชื่อสามัญ Star gooseberry


ลักษณะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นสีขาวตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านเปราะและหักง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ ใบรวมใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว หรือใบย่อยออกเรียงกันเป็นคู่ๆ แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบย่อยรูปหอก หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ริมขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม.
ดอก สีแดงออกเป็นช่อและออกตามกิ่งแก่ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน ดอกตัวผู้เกิดที่ปลายช่อไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ
ผล ผลรูปร่างกลมแบนหรือเป็นเฟืองมนๆ ออกเป็นช่อตามกิ่ง ผลมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็น สีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง ผลรสออกหวานหรือเปรี้ยว ผลหลุดจากขั้วง่าย เมล็ดเดี่ยวขนาดเล็กเปลือกแข็งหรือรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน การปลูก: มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์

สรรพคุณทางยา:
ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง การปรุงอาหาร :
ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ส้มตำ นำมาชุบแป้งทอดรับประทานร่วม กับขนมจีน นำมาแกงเลียง
ผลแก่ นำมาแกงคั่ว ปรุงเป็นส้มตำ

จัดทำโดย
นาย นิธิกร จันทร์หัวโทน ชั้น ม.4/1 เลขที่ 3
นางสาว ฐาปนีย์ ศรีสุทโธ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 17
นางสาวปริยาภัทร ปักอินทรีย์ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 21

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึงสื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูล สำหรับการเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภทดังนี้

อุปกรณ์รับส่งข้อมูล

อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึงสื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูล สำหรับการเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภทดังนี้

สายโทรศัพท์ (Telephone Line) สายโทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้กันมานาน ในระบบการสื่อสารข้อมูล แบ่งเป็นสองลักษณะด้วยกันคือ

สายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshield Twisted Pair : UTP) มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็ก มีฉนวนหุ้ม ในแต่ละคู่บิดเกลียวคู่เข้าด้วยกัน มีฉนวนหุ้มภายนอก ราคาถูก ติดตั้งง่าย มีความน่าเชื่อถือสูงในการเชื่อมต่อแบบ STAR แต่มีข้อเสียคือมีอัตราการส่งข้อมูลต่ำ มีระยะทางการส่งสัญญาณสั้น และสัญญาณรบกวนสูง

สายคู่ตีเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shield Twisted Pair : STP) มีลักษณะเป็นสายทองแดง
ขนาดเล็กตีเกลียวคู่ แต่ละคู่มีฉนวนหุ้มอีกชั้นเรียกว่า Shield เพื่อลดสัญญาณสอดแทรก(interference) และมีฉนวนหุ้มชั้นนอกเรียกว่า Outer Jacket มีข้อดีคือคุณภาพการรับส่งข้อมูลสูงกว่าสายแบบ UTPสัญญาณรบกวนน้อยกว่าสายแบบ UTP แต่ราคาสูงกว่า

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียล เป็นสายที่มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ประกอบด้วยสายตัวนำสัญญาณเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลาง เรียกว่า Inner Conductor หุ้มด้วยฉนวน Insulator Filter แล้วล้อมรอบด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นสายดิน (Ground) เรียกว่า Outer Conductor สายโคแอกเชียลมีข้อดีเรื่องความเร็วสูงในการส่งข้อมูล สามารถส่งได้ทั้งสัญญาณเสียงวีดีโอและข้อมูล ติดตั้งง่าย แต่มีข้อเสียที่ราคาแพงและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงด้วย

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) สายใยแก้วนำแสง เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ที่ต้องการความเร็วสูงมาก ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนสูง ลักษณะสายสัญญาณประกอบด้วยเส้นใย (Fiber) ทำจากใยแก้วสองชนิด ที่มีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ชนิดหนึ่งเป็นแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก การทำงานจะมีไดโอดเปล่งแสง (LED : Light Emited Diode) หรือไดโอดแบบเลเซอร์ (Laser Diode) ปล่อยแสงที่เข้ารหัสข้อมูล โดยใช้ความถี่จึงสามารถส่งรหัสข้อมูล ได้หลายช่องทางตามความถี่ต่าง ๆ กัน อุปกรณ์รับส่งข้อมูลแบบเส้นใยแก้วนำแสง มีข้อดีคือรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ใช้แสงในการส่งข้อมูล จึงไม่ต้องระมัดระวังเรื่องสัญญาณไฟฟ้ารบกวน มีการสูญเสียของสัญญาณต่ำ แต่มีข้อเสียคือราคาแพงกว่าสายสัญญาณประเภทอื่น ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง รับส่งข้อมูลได้ทางเดียว ต้องใช้สายสัญญาณสองเส้น เพื่อทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล

คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) คลื่นไมโครเวฟ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ที่ใช้คลื่นวิทยุชนิดความถี่สูง เรียกว่าคลื่นไมโครเวฟ โดยอาศัยอากาศเป็นสื่อกลาง เหมาะสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ ที่ไม่มีตึกหรือภูเขาระดับสูง บังการเดินทางของคลื่น ระหว่างอาคาร โดยต้องมีจานสัญญาณ ติดตั้งไว้บนเสาหรืออาคารสูง ๆ การรับส่งข้อมูลแบบนี้ เหมาะสำหรับบริเวณที่เดินสายลำบาก มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนสูง ข้อเสียคือรับส่งสัญญาณได้ไม่ไกลมากนัก และต้องติดตั้งจานรับส่งสัญญาณบนเสาสูง ที่ไม่มีอาคารกีดขวางในทิศทางตรงกัน

ดาวเทียม (Satellite) ดาวเทียม เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้ดาวเทียม เป็นสถานีในการรับส่งสัญญาณข้อมูล กับสถานีทวนสัญญาณภาคพื้นดิน รับส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว่า 22,300 ตารางไมล์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกีดขวาง สัญญาณของภูมิประเทศ เช่น ภูเขา อาคารสูง สามารถ ส่งสัญญาณครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ มีข้อเสียคือต้องลงทุน และใช้เทคโนโลยีระดับสูง

อุปกรณ์แสดงผล

อุปกรณ์แสดงผล

จอภาพ (Monitor)

เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นจอสีทั้งหมด ส่วนจอขาวดำ ไม่มีให้เห็นแล้ว และส่วนมากจะเป็นจอแบบ CRT (Cathode Ray Tube) เพราะจอ CRT มีราคาสูง ส่วนเครื่องโน็ตบุ๊คจะเป็นจอแบบ LCD โดยขนาดนี้นิยมใช้จะอยู่ที่ 15 นิ้ว จอ CRTรุ่นใหม่ๆ จะมีกระจกหน้าจอแบบราบ

การ์ดแสดงผล (Display Card)

การ์ดแสดงผลหรือชื่องอย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดแสดงผล เพื่อประมวลผล ในจากดิจิตอลเป็นแอนะล็อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอ


เครื่องพิมพ์ ( Printer)

เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่กับคอมพิวเตอร์มานานแล้วและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 4 ประการคือ
1. เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากในอดีต การพิมพ์จะใช้หัวพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเข็มเรียงกันเป็นแถวในแนวตั้ง มี 2 แบบ คือ 9หัวเข็มและแบบ 24 หัวเข็ม อักษรที่ได้จะดูหยาบไม่ค่อยละเอียด
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถพิมพ์สีได้ด้วย ถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ
3. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารคุณภาพและความเร็วในการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม และแบบพ่นหมึก มีความคมชัดสูงแต่ราคาก็สูง
4. เครื่องพิมพ์แบบพล็อตเตอร์ (Plotter Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์งานประเภทงานออกแบบ
การ์ดเสียง (Sound Card)
เป็นการ์ดที่ช่วยสนับสนุนและจัดการด้านเสียงของเครื่องพีซี และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไฟล์เสียง สร้างเสียงดนตรี การบันทึกเสียงไปเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนการ Mix เสียง การ์ดเสียงรุ่นใหม่จะเป็นแบบที่เสียบในสล็อต PCI และมีคุณสมบัติ Plug and Play ซึ่งทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นมาก
ลำโพง (Speaker)
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงเสียงเหมือนลำโพงเครื่องเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้า จากการ์ดเสียงให้ออกมาเป็นเสียงต่างๆ ดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การ์ดเสียงเท่านั้น ต้องอาศัยการขับพลังเสียงของลำโพงด้วย ซึ่งลำโพงที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็นลำโพงแบบตอบสนองเบสและเสียงแหลมที่ชัดเจนควรใช้ลำโพงแบบซัปวูฟเฟอร์จะให้เสียงเบสที่นุ่มนวลกว่าและแบบทวีตเตอร์ซึ่งจะให้เสียงแหลมที่ชัดเจน

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์บันทึกข้อมูล


อุปกรณ์บันทึกข้อมูล
อุปกรณ์ที่นิยมใช้เก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ มี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk ) และแผ่นบันทึกข้อมูล ฮาร์ดดิสก์มีลักษณะเป็นวัสดุแข็ง มักจะติดตั้งอยู่ในเครื่องขับ ส่วนแผ่นบันทึกข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ อ่อนจนโค้งงอได้ ส่วนใหญ่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุข้อมูลตั้งแต่ 360 กิโลไบต์ ถึง 2.88 เมกะไบต์ สามารถถอดออกจากตัวเครื่องขับแผ่นบันทึกข้อมูล เนื่องจากฮาร์ดดิสก์มีกลไกการทำงานที่ละเอียดกว่า จึงทำให้มีความจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึก มีความเร็วในการอ่านหรือบันทึกข้อมูลเร็วกว่าแผ่นบันทึกมาก


นอกจากนี้ยังมีซีดีรอม ( CD-ROM ) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับแผ่นบันทึกเสียงเพลง การอ่านข้อมูลทำโดยการใช้แสงเลเซอร์ขนาดเล็กลงมากส่องลงไปบนช่องสัญญาณแล้วแปลงเป็นรหัส ดิจิทัลซีดีรอมมีความสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึก

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)


อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
หน่วยรับข้อมูล (Input unit ) ทำหน้าที่ป้อนคำสั่งเข้าไป ซึ่งหน่วยรับข้อมูลนี้เองเปรียบเสมือน การมองเห็นของตา การได้ยินของหู การได้กลิ่นของจมูก อุปกรณ์ Input unit มีมากมายหลายหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. หน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) คืออุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี 2. หน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative Input) คืออุปกรณ์ที่จะมีหรือไม่ก็ได้คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการป้อนข้อมูลเข้า เช่น การนำเข้ารูป เสียง เป็นต้นหน่วยป้อนข้อมูลเข้าหลัก (Primary Input) - เมาส์ (Mouse) - คีย์บอร์ด (Keyboard)
ภาพอุปกรณ์นำเข้าเมาส์ และคีย์บอร์ดที่มา : http://www.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/265/wireless/cp4_2.htmlหน่วยป้อนข้อมูลเสริม (Alternative input)
สแกนเนอร์ (Scanner)ที่มา : http://www.overclockzone.com/news/information/2008/12/37
กล้อง (Camera)ที่มา : http://www.arowanacafe.com/webboard/view.php?id=6210
ไมโครโฟน (Microphone)ที่มา : http://www.overclockzone.com/tns/Year2007/11/ASUS_XONAR
ปากกาแสง (Lightpen)ที่มา : http://phung0895gmail.blogspot.com
จอยสติ๊ก (Joystick)ที่มา : http://krujid.com/joystick.htm

องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

หน่วยประมวลผลกลาง Processor
หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร้วเพิ่มขึ้น
หน่วยความจำหลัก Main Memory
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)
หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้มากมาย
หน่วยแสดงผล
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็จะหายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก คอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ ได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)


บทที่ 4 ฮาร์ดแวร์
เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ และมีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งฮาร์ดแวร์แบ่งเป็น
1) อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า ( Input Device ) เป็นอุปกรณ์ชุดคำสั่งที่เข้ามายังระบบ1.1) Keyed Device- คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน+ คีย์บอร์ดไร้สาย ( Cordless keyboard )+ คีย์บอร์ดติดตั้งภายใน ( Built – in keyboard )+ คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ ( ergonomic keyboard )+ คีย์บอร์ดพกพา ( Portable keyboard )+ คีย์บอร์ดเสมือน ( Virtual keyboard )1.2) Pointing Devices- เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสำหรับการชี้ตำแหน่งการทำงานของข้อมูล+ เมาส์แบบทั่วไป ( Mechanical mouse)+ เมาส์แบบแสงหรืออปติคอลเมาส์ ( Optical mouse)- แทรคบอล ( trackball ) เป็นการทำงานนคล้ายเมาส์โดยจะมีลูกบอลติดตั้งไว้อยู่ส่วนบนเพื่อควบคุม- แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด ( touch pad ) เป็นแผ่นที่ติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา ใช้ทำงานแทนเมาส์- แท่งชี้ควบคุม หรือพอยติงสติ๊ก ( pointing stick ) มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆคล้ายกับยางลบ ดินสอเพื่อช่วยชี้ตำแหน่งของข้อมูล- จอยสติ๊ก ( Joystick) สามารถบังคับทิศทางได้หลายทิศทาง หรือในระดับที่องศาต่างกัน- พวงมาลัยบังคับทิศทาง ( Wheel ) ใช้สำหรับเล่นเกมจำลองประเภทการแข่งรถ- จอสัมผัส ทัชสกรีน ( Touch screen ) สามารถใช้นิ้วมือแตะบังคับลงไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้- ประเภทปากกา ( Pen-Based Device) สำหรับการป้อนข้อมูลแทนการพิมพ์+ ปากกาแสง ( Light pen )+ สไตล์ลัส (Stylus) นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก+ ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer ) อุปกรณ์สำหรับในการอ่านพิกัดซึ่งใช้ร่วมกับปากกา
1.3) ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย ( Multimedia Input Device)- กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ( Digital camera )- กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ( Digital Video camera)- เว็บแคม ( Web cam )1.4) ประเภทสแกนข้อมูลด้วยแสง ( Scanner and Optical reader )- สแกนเนอร์ (Scanner)- โอเอ็มอาร์ ( OMR – Optical Mark reader ) ใช้ในการตรวจสอบคะแนนบุคคลจำนวนมาก- เครื่องอ่านบาร์โด ( Bar code reader )- เอ็มไอซีอาร์ ( MICR- Magnetic-Ink Character Recognition)1.5) ประเภทตรวขสอบข้อมูลทางกายภาพ ( Biometric Input Device) เป็นลักษณะของกาตรตรวจสอบข้อมูลเฉพาะของคนแต่ละคน เช่น ลายนิ้วมือ
2) อุปกรณ์ประมวลผล ( Process Device )
2.1) CPU – Central Process Unit หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ประมวลผลจากข้อมูลนำเข้าและส่งไปยังอุปกรณ์ส่วนอื่น- สถาปัตยกรรมที่ใช้สำหรับผลิตซีพียู+RISC – Reduced Instruction Set Computer ส่งผลให้ความเร็วโดยรวมในการทำงาน
ของซีพียูเร็วขึ้น
+ CISC – Complex Instruction Set Computer เป็นPentium รุ่นแรกๆเสียมากกว่า
2.2) หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) ทำงานใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด- ROM ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบกระแสไฟฟ้าเลี้ยง มักติดตั้งไว้เพื่อตรวจสอบการทำงานของเครื่อง
- RAM ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงาน ใช้เป็นที่พักในการประมวลผลข้อมูล
2.3) Main Board ไว้ควบคุมวงจรต่อเชื่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
2.4) Chip Set ปกติจะติดตั้งมาพร้อมกับ Main Board จึงไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของหน่วยความจำ
3) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)
3.1) สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk Devices)
- Floppy disks มีโครงสร้างจาก Track และ Sector
- Hard disk ประกอบด้วย Platter, track , sector, cylinder, read/write head
3.2) สื่อเก็บข้อมูลแบบแสง
- CD (Compact Disc)+ CD-ROM นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลบนคอมพิวเตอร์+ CD-R มีราคาถูกลงอย่างมาก สามารถเขียนบันทึกข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่
เขียนได้+ CD-RW ลักษณะจะคล้ายกับ CD-R แต่สามรถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งและยังสามารถ
ลบข้อมูลได้ อีกทั้งยังเขียนซ้ำใหม่ได้เรื่อยๆ
- DVD (Digital Versatile Disc/ Digital Video Disc)+DVD-ROM นิยมใช้เก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก แต่ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้+ DVD-R และ DVD-RW สำหรับDVD-R จะเขียนข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ DVD-RW
สามารถเขียนและบันทึกข้อมูลซ้ำกันได้หลายครั้ง ทั้งสองอย่างมีความจุ 4.7GB
+ DVD+R และ DVD+RW จะคล้ายกับกลุ่มมาตรฐานเดิมแต่มีความเร็วในการเขียนแผ่น
ที่มากกว่า
3.3) สื่อเก็บข้อมูลแบบเทป (Tape device) เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลสำรอง3.4) สื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ –เช่น อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช
4) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ (Output Device)
4.1) อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display Devices)
- Terminals เป็นจอภาพที่มีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไป- CRT Monitors ใช้กับCP ทั่วไป
- LCD Monitors อาศัยการทำงาน Liquid Crystal ไม่เปลืองเนื้อที่สำหรับการทำงาน
- Projectors ช่วยขยายจากภาพเล็กให้เป็นภาพใหญ่
4.2) อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Print Devices)- Dot matrix Printer เหมาะสำหรับการพิมพ์ประเภทสำเนา
- Laser Printer มีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่น โดยอาศัยการทำงานของแสง
เลเซอร์
- Ink-jet Printer อาศัยการพ่นหมึกลงไปบนกระดาษและสามารถเลือกใช้ทั้งหมึกสีและ
ขาวดำ
- Plotter นิยมใช้ในการพิมพ์เอกสารขนาดใหญ่ที่ต้องการความละเอียดสูง โดยอาศัย
การวาดภาพด้วยปากกาความร้อนเขียนลงบนกระดาษ4.3) อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Devices)- ลำโพง (Speaker)
- หูฟัง (Headphone)

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประุยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ

นวัตกรรมใหม่ สำหรับการฟังเพลงผ่านทางมือถือ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมาแล้ว จากอังกฤษ เป็นโปรแกรมที่พัฒนามาให้เข้าถึงโทรศัพท์มือถือได้มากที่สุด ไม่จำกัดว่าจะเป็นยี่ห้อใด ๆ โดย บริษัท Sydus เป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อรับตอบกระแสดิจิทัดมิวสิคในปัจจุบัน ผ่านระบบ GPRS
ของเครือข่าย GSM โดยระบบสนับสนุนลิขสิทธิ์เพลงที่มีค่า ไม่มีการดาวน์โหลดเพลง แต่ใช้การ Streaming เพลง จาก Music Library ของเราที่มีเพลงลิขสิทธิ์กว่าสองพันเพลง ทั้งไทยและสากล อีกทั้งมีความพิเศษของระบบ B-LIVE Radio คือ ช่อง Clubbing ที่จะเปิดโอกาสให้เหล่าดีเจมือสมัครเล่นสามารถโชว์ออฟดนตรีที่แต่งขึ้นได้ แต่ไม่มีช่องทางเนื่องจากตลาดเพลง Electronica หรือ House ยังเป็นตลาดที่นิช(Niche) อยู่มาก มาแสดงฝีมือโดยส่งแทรคมาที่เพื่อคัดใส่ในช่อง Clubbing เพื่อเผยแพร่ฝีมือให้คนทั่วไปได้เห็น ทั้งนี้ได้มีการจับมือกันของ
BACARDI (ประเทศไทย)จำกัด ได้จับมือ Sydus และกับพันธมิตร จากค่ายเพลงทั้งในและต่างประเทศ อย่าง ยูนิเวอร์แซล ,แพลตทินัม และสมอลรูม และพันธมิตรยักษ์ใหญ่อย่าง AIS ที่เสนอข้อเสนอพิเศษฟรี GPRS สำหรับลูกค้า AIS ที่ฟัง B-LIVE Radio ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเครือข่าย GSM

‘B-Live Radio’ สามารถฟังได้ทาง internet โดยคลิกไปที่http://www.blivethailand.com/Radio หรือดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับฟังผ่านทางมือถือได้ที่ wap.blivethailand.com

บทวิเคราะห์
โปรแกรม ‘B-Live Radio’ ถือว่าเป็นนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนทางบันเทิงได้เป็นอย่างดีและทันสมัยต่อยุคที่โลกหนุ่มสาวสมัยใหม่รักเสียงดนตรี โดยไม่มีข้อจำกัดของยี่ห้อ


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ



ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย

  • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
  • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
  • หน่วยความจำหลัก
  • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
  • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )

หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์

หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก

ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

  • ซอฟต์แวร์ (Software)

    คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา

    ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ

    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

  • บุคลากร (Peopleware)

    เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ

    ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)

    ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป

    บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้

    • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
    • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
    • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
    • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
    • การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น

  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)

    ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ

    ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน

สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง

มีความสัมพันธ์กัน (relevant)สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์

การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

  • กระบวนการทำงาน (Procedure)

กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

  1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
  2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
  3. เลือกรายการ
  4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  5. รับเงิน
  6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร

การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น