7-30240-001-032/2
ชื่อพื้นเมือง มะยมมะยม (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAEชื่อสามัญ Star gooseberry
ลักษณะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นสีขาวตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านเปราะและหักง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ ใบรวมใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว หรือใบย่อยออกเรียงกันเป็นคู่ๆ แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบย่อยรูปหอก หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ริมขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม.
ดอก สีแดงออกเป็นช่อและออกตามกิ่งแก่ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน ดอกตัวผู้เกิดที่ปลายช่อไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ
ผล ผลรูปร่างกลมแบนหรือเป็นเฟืองมนๆ ออกเป็นช่อตามกิ่ง ผลมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็น สีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง ผลรสออกหวานหรือเปรี้ยว ผลหลุดจากขั้วง่าย เมล็ดเดี่ยวขนาดเล็กเปลือกแข็งหรือรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน การปลูก: มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์
สรรพคุณทางยา:
ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง การปรุงอาหาร :
ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ส้มตำ นำมาชุบแป้งทอดรับประทานร่วม กับขนมจีน นำมาแกงเลียง
ผลแก่ นำมาแกงคั่ว ปรุงเป็นส้มตำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นสีขาวตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านเปราะและหักง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ ใบรวมใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว หรือใบย่อยออกเรียงกันเป็นคู่ๆ แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบย่อยรูปหอก หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ริมขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม.
ดอก สีแดงออกเป็นช่อและออกตามกิ่งแก่ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน ดอกตัวผู้เกิดที่ปลายช่อไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ
ผล ผลรูปร่างกลมแบนหรือเป็นเฟืองมนๆ ออกเป็นช่อตามกิ่ง ผลมี 3 พู ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็น สีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง ผลรสออกหวานหรือเปรี้ยว ผลหลุดจากขั้วง่าย เมล็ดเดี่ยวขนาดเล็กเปลือกแข็งหรือรูปร่างกลม เห็นเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน การปลูก: มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์
สรรพคุณทางยา:
ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง การปรุงอาหาร :
ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ส้มตำ นำมาชุบแป้งทอดรับประทานร่วม กับขนมจีน นำมาแกงเลียง
ผลแก่ นำมาแกงคั่ว ปรุงเป็นส้มตำ
จัดทำโดย
นาย นิธิกร จันทร์หัวโทน ชั้น ม.4/1 เลขที่ 3
นางสาว ฐาปนีย์ ศรีสุทโธ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 17
นางสาวปริยาภัทร ปักอินทรีย์ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น